หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ตั่งค่า Facebook อย่างไรไม่ให้โดน Block ตอนที่ 2

อรุณสวัสดิ์เช้าวันอาทิตย์ครับ ทุกท่าน
สองสามวันนี้อากาศดีมว๊ากกกก.. ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป แดดก็ไม่ค่อยมี.. แถมฝนตกพรำๆ 
ระวังรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ เดี่ยวหวัดจะถามหาเอา.. 


ยังจำกันได้ไหมเอ่ย...ครั้งที่แล้วเรายังอยู่กันในหัวข้อ "ความปลอดภัย" โดยมีเมนูย่อยทั้งหมดดังนี้ 
- คำถามกรณีลืมรหัสผ่าน
- เรียกดูแบบปลอดภัย
- การแจ้งเตือนการลงชื่อเข้าใช้
- การยืนยันการเข้าสู่ระบบ
- รหัสผ่านแอพ
- อุปกรณ์ที่จดจำ
- เวลาการใช้งาน
และเราก็ได้สำเร็จในขั้นตอนที่ว่า "คำถามกรณีลืมรหัสผ่าน" ไปแล้ว ใครท่านไหนที่พึ่งกดเข้ามาอ่านก็สามารถย้อนกลับไปดูในบทความที่แล้วได้นะครับ


เรามาทำความเข้าใจถึงหัวข้อที่ว่า "เรียกดูแบบปลอดภัย"  กันดีกว่า.. ว่า มันคืออะไร แล้วปลอดภัยยังไง
เมื่อเราคลิกคำว่า "แก้ไข" เข้าไปก็จะเจอหน้าตาแบบนี้

ซึ่งมันหมายความว่า "การเรียกดูแบบปลอดภัย" หมายถึงให้เราเข้าใช้ Facebook ด้วย https ครับ 
หลายๆ ท่านอาจจะเคยพอทราบกันมาบ้างแล้วว่าเว๊ปไซต์ทั่วไปมักจะขึ้นต้นด้วย http://www.   ยกเว้นเว๊ปไซต์บางประเภท จะขึ้นต้นด้วย https://www   ซึ่งมักจะเป็นเว๊ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงินซะส่วนใหญ่อันได้แก่ เว๊ปไซต์ของธนาคารต่างๆ เป็นต้น

เรามาทำความเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของ HTTPS กันหน่อย 
(ปวดหัวนิดนะครับเพราะจะออกแนวTechnical สักหน่อย)

HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transport Protocol เป็นโปรโตคอลสื่อสารที่ทำงานอยู่บนระบบโปรโตคอล TCP HTTP ใช้ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web [www]) ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ
     - เป็นกลไก หรือโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง Server และ Client ของ World Wide Web(www)
     - กำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน (Uniform Resoure Locators : URLs)
     - ผู้เขียนเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ในเอกสารในเว็บHTTP เป็น protocol ที่อยู่ในส่วนของ Application Layer โดย DATA ต่าง ๆ จาก Layer นี้จะถูกจากส่งผ่านไปยัง Layer อื่น ๆ ที่ต่ำกว่า
     - มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบภาษา HTML (HyperText Markup Language) โดยทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบน www
     - HTTP จะทำงานที่พอร์ต 80
     - ส่งข้อมูลเป็นแบบ Clear text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งไปนั้น ไม่ได้ทำการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับข้อมูลนั้นได้โดยง่าย
       - มาตรฐานของ HTTP ปัจจุบันคือ HTTP 1.1 ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง

HTTPS ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ HTTP over SSL
     - HTTPS ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure HTTP  เรียกใช้ด้วยรูปแบบ https:”//
     - HTTPS จะทำงานที่พอร์ต TCP443 ออกแบบโดยบริษัท Netscape
     - ทำงานโดยการเพิ่มข้อมูลในการระบุตัวผู้ส่ง ( Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ภายใน HTTP กับ TCP 
     - ในการส่งข้อมูลจะเป็นแบบ HTTP แต่จะมีการเข้ารหัสเป็นแบบ SSL  128 bit โดยการเข้ารหัสนี้เปรียบได้กับการสร้าง VPN เพื่อไปหา Web Server
     - โปรโตคอล HTTPS สร้างเพื่อความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
     - การใช้งาน HTTPS  Administrator สร้าง Public Key Certificate สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์
     - สร้างโดยใช้ OpenSSL ssl-ca
     - ทำการ Sign โดย Certificate Authority เพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็น certificate จากเซิร์ฟเวอร์
     - เว็บบราวเซอร์ตรวจสอบ certificate ได้จาก root certificate ซึ่งติดตั้งอยู่ในเว็บบราวเซอร์
     - นิยมใช้กับ Web ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น พวก Web ของธนาคาร การเงินต่างๆ หรือข้อมูลส่วนของราชการ เป็นต้น
     - https ส่งข้อมูลเป็นแบบ Cipher text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้ โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้แต่ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง โดยข้อมูลนั้นจะถูกอ่านโดยตัวเรากับเครื่อง Server เท่านั้น
     - การมีระบบแบบนี้ถือว่าดี แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเข้าดูข้อมูล เนื่องจากจะต้องระบุตัวบุคคล คล้ายๆกับการ login

ข้อสังเกตุ
     + เราสามารถสังเกตได้ว่า webpage ที่เรากำลังดูอยู่นั้น ได้ใช้ระบบการรักษาความปลอดภัยของการส่งข้อมูลหรือไม่(SSL) สังเกตจาก รูปกุญแจ ถ้ามีแสดงว่าใช้ เช่น Gmail ก็มีน่ะคับ
     + SSL ย่อมาจาก Secure Sockets Layer 
     + SSL คือ เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority)






สรุป คือ
เมื่อเรา คลิกถูกเพื่อเลือก "การเรียกดูแบบปลอดภัย" มันจะทำให้การเข้าใช้งาน Facebook ของเราจะปลอดภัยมากขึ้น 
Facebook Account ของเราจะปลอดภัยต่อการถูก Hack แบบ  Spam ที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ (เมื่อคอมพิวเตอร์ติด Spam หรือ มัลแวร์ ) และปลอดภัยต่อการถูกโจมตี Account แบบการดัก package จากโปรแกรมโจมตีอื่นๆ


เอ... ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจกันมากน้อยแค่ไหนนะครับ แต่เอาเป็นว่า ในหัวข้อนี้ให้เราเลือกไปเลย มันดีต่อระบบของ facebook เองและดีต่อ account facebook ของเราด้วยครับ


================================================
หัวข้อต่อไปจะว่าด้วยการใช้ Facebook Feature ช่วยตั้งค่าให้ Account ปลอดภัยมากขึ้นชนิดที่เรียกว่า Super Secure กันเลยทีเดียว...









วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ตั่งค่า Facebook อย่างไรไม่ให้โดน Block ตอนที่ 1 (ต่อ)

ตอนที่ 1 : การตั้งค่าความปลอดภัย (คำถามกรณีลืมรหัสผ่าน)


ต่อจากบทความที่แล้วเลยนะ.. ตามรูปจะเห็นได้ว่า แทบ ทางซ้ายมือจะมี เมนู แสดงดังนี้
- ทั่วไป
- ความปลอดภัย
- การแจ้งเตือน
- แอพ
- โทรศัพท์มือถือ
- การชำระเงิน
- โฆษณาของ Facebook


ในบทนี้ เราจะมาว่ากันด้วย การตั้งค่าความปลอดภัย โดยที่เมืออยู่ในหน้า page general แล้วเราสามารถกดลงไปที่เมนู "ความปลอดภัย" ทางซ้ายมือได้เลย โดยหน้าตาของ Page นี้จะเป็นแบบนี้ครับ




ในเมนูส่วนย่อยของเมนู"ความปลอดภัย" ยังแบ่งออกเป็นรายละเอียดย่อยๆ ดังนี้คือ
- คำถามกรณีลืมรหัสผ่าน
- เรียกดูความปลอดภัย
- การแจ้งเตือนการลงชื่อเข้าใช้
- การยืนยันการเข้าสู่ระบบ
- รหัสผ่านแอพ
- อุปกรณ์ที่จดจำ
- เวลาการใช้งาน


โดยผมจะอธิบายความจำเป็น ความหมาย และความสำคัญของแต่ละหัวข้อย่อยเป็นลำดับไปดังนี้


เราสามารถกำหนด "คำถามกรณีลืมรหัสผ่าน" ด้วยการกดคำว่า "แก้ไข" ตรงส่วนท้ายของเมนู เมื่อกดแล้วจะมีหน้าตาเป็นแบบนี้ 




ต้องยอมรับว่าโดยนิสัยของ "คนไทย" ส่วนใหญ่่มักจะไม่ใช้เมนูการป้องกันด้วยการตั้งคำถามแบบนี้กันเลย 55.. แม้กระทั่งตัว admin เองก็ยังไม่ใช้เลยครับ 
เพราะการขอรับรหัสผ่านด้วยคำถามแบบนี้เป็นการป้องกันที่โบราณมากกก... ฮ่าฮ่า  
แต่จริงๆ แล้วคนไทยขี้ลืมกันครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นการสมัคร อีเมล์ หรือสมัครใช้งานเพื่อเป็น User ในเว๊ปไหนๆ การตั้งคำถามเพื่อขอรับรหัสกรณีลืม เพือเป็นคำถามพื้นฐาน แต่เราก็มักจะไส่กันมั่วๆ ไป ดังนั้น หรือไส่ไปงั้นๆ แหล่ะ... อิอิ


เอาละ โม้มาเยอะเลย เข้าเรื่องกันดีกว่า เมือกด "แก้ไข" เข้ามาในเมนูนี้แล้ว เราจะเห็นว่าภาษามันเปลี่ยนไป ! Ship หายล่ะ.. หลายคนในนี้อาจจะคิดว่า คนไม่เก่งภาษาต่างประเทศอย่างเรานี่ก็ตายล่ะสิ ถามอะไรก็ไม่รู้..  
คำถามที่มันมันใช้ภาษาประโยคง่ายๆ ครับ ยกตัวอย่างเช่น 
What was the last name of your first grade teacher ?  
มันแปลได้ว่า คุณครูคนแรกของคุณในสมัยเรียน ม.ต้น ชื่ออะไร ?
คำตอบ คืออะไร ใครจำได้ก็ เอาไปไส่ในช่องว่างๆ ด้านล่างนะครับ  
จากนั้นก็ Save  หรือว่าใครไม่อยากได้คำถามแบบนี้ก็ ลองเลือนๆ ไปเลือกคำถามข้ออื่นก็ได้นะครับ ยังมีให้เลือกอยู่อีกหลายคำถามเลย..


แต่สำหรับ admin แล้วคำตอบคือ "จำไม่ได้" โห... ก็มันนานหลายสิบปีแว้ววววว...
ดังนั้นสำหรับ Admin ขี้ลืมอย่างผมจึงไม่ได้ใช้ คำถามป้องกันรหัสผ่าน ไปโดยปริยายย.

ตั่งค่า Facebook อย่างไรไม่ให้โดน Block ตอนที่ 1

ตั่งค่า Facebook อย่างไรไม่ให้โดน Block 


ตอนที่ 1 : การตั้งค่าความปลอดภัย


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน ในบทที่แล้วเราได้กล่าวถึง ข้อกำหนด กฎต่างๆ ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันบนสังคมของโลกออนไลย์กันไปแล้ว หวังว่าทุกๆ ท่านคงจะเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ Facebook กันดีนะครับ 
กฏต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมา มันก็เหมือนๆ กันกับ กฎหมายที่บังคับใช้กับสังคมเรานี่แหล่ะ ท้ายที่สุดก็เพื่อที่จะปกป้องผู้ที่มีเจตนาดี และลบผู้ที่มีเจตนาไม่ดีออกไปจากระบบของ Facebook เอง


บทต่อไปนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการตั้งค่าการป้องกันบัญชี Facebook ของเราให้มีความปลอดภัยที่ดีขึ้น  คำว่าดีขึ้นในที่นี้หมายถึง Account ของเราจะไม่ง่ายต่อการถูกบุกรุก เช่น ถูก Hack Account หรือ ถูก Spam จาก Game ที่เราเล่น เป็นต้น. แต่ทาง Facebook เองก็ไม่ได้บอกว่า วิธีการต่อไปนี้จะป้องกันได้ 100% หรอกนะครับ เพียงแต่ว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ตอนนี้ แค่นั้นเอง.


เอาละ เริ่มกันเลย 
หลังจากที่เรา Log in เข้าสู่ Account ของเราได้แล้ว ขอให้เริ่มกันที่ เมนู "การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้" จุดสังเกตุคือ รูปลูกศรเล็กๆ ซึ่งจะอยู่ตรงมุมว่าบน เมื่อกดแล้วเราจะเห็น 3 เมนู อันได้แก่ 

ตั้งค่า บัญชีผู้ใช้ , ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, และออกจากระบบ
ให้เลือก บัญชีผู้ใช้ เลยครับ เมื่อกดเลือกแล้ว หน้าตาของ Facebook จะเปลี่ยนไปเป็นแบบนี้




 ดังรูปจะเห็นได้ว่า ในแทบของ General Account Setting หรือ ที่เรียกว่าข้อมูลทั่วไป มันก็คือ ข้อมูลทั่วไปของ Account เรานั่นแหล่ะครับ สำหรับตรงนี้จะขอข้ามไปเลยละกัน 



วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ไทยแลนด์ เฟสบุ๊ค Help Desk: ปัญหาของคนไทย กับ Facebook ทำใม Account โดน Block...

ไทยแลนด์ เฟสบุ๊ค Help Desk: : ปัญหาของคนไทย กับ  ทำใม Facebookโดน Block
ทำใมต้องยืนยันตัวตน..
ปัญหาของคนไทย กับ Facebook 
ทำใม Account โดน Block  ทำใมต้องยืนยันตัวตน... ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ วัตถุประสงค์และนโยบายของ Facebook กันเถอะ


ที่มา : https://www.facebook.com/communitystandards/


อะแฮ่ม.. ลองสังเกตุกันด้วยนะครับ ว่ากำลังทำผิดกฏข้อไหนกันอยู่หรือป่าว....



Facebook เป็นชุมชนไร้พรมแดนที่ผู้คนนับล้านสามารถเชื่อมสัมพันธ์กันได้ แต่ละคนจะแสดงความคิดเห็น แนวคิด และค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 
นอกจากการคำนึงถึงความหลากหลายนี้ Facebook ยังทำเพื่อส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถถกปัญหาและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผยโดยเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น เมื่อผู้คนรวมตัวกันเพื่อแบ่งปันสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อพวกเขา 
แต่ในบางกรณี การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและโพสต์ต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงหัวข้อและเนื้อหา อาจจะก่อให้เกิดการโต้แย้ง แต่เราก็เชื่อว่าการสนทนาออนไลน์ จะสะท้อนให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตแบบออฟไลน์ของผู้คนในการสนทนาที่บ้าน ที่ทำงาน ในคาเฟ่ และในชั้นเรียน

ในฐานะที่เป็นชุมชนที่ไว้วางใจได้สำหรับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน Facebook มีการควบคุมดูแลของ Facebook เอง ผู้ใช้ Facebook สามารถรายงานและควรรายงานผู้ดูแลระบบหากพบเนื้อหาที่น่าสงสัยหรือเป็นการคุกคาม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการและความสนใจของชุมชนไร้พรมแดน เราขอให้ทุกคนเคารพมาตรฐานชุมชน ดังนี้

ว่าด้วย กฎ ระเบียบ และ ข้อบังคับการอยู่ร่วมกันของ Facebook

1. การคุกคาม
Facebook ประสงค์ให้สมาชิกรู้สึกถึงความปลอดภัยเมื่ออยู่ในเวปไซต์ การคุกคามที่เชื่อได้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นจะถูกลบ เราอาจต้องถอดการสนับสนุนสำหรับองค์กรที่ก่อให้เกิดความรุนแรงนั้นออกด้วยเช่นกัน

2. การส่งเสริมการทำร้ายตัวเอง
Facebook ไม่ใช่สถานที่สำหรับการแสดงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายตนเอง เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว Facebook ไม่อนุญาตให้มีการส่งเสริมการฆ่าตัวตาย, "การกรีดตามร่างกาย"พฤติกรรมการรับประทานที่ผิดปกติ หรือการใช้ยาอย่างผิดกฎหมาย เราถือว่าภัยคุกคามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง และจะดำเนินการติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเราพบพฤติกรรมดังกล่าว

3. การคุกคามและการล่วงละเมิด
ในฐานะที่เป็นชุมชน Facebook ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคารพซึ่งกันและกัน รวมทั้งให้ความสำคัญกับรายงานเกี่ยวกับการล่วงละเมิดอย่างจริงจัง เราจะดำเนินการทันทีเมื่อมีการคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคล หรือบุคคลนั้นได้รับการติดต่อโดยไม่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเราสนับสนุนให้คุณสร้างความสัมพันธ์อันดีใหม่ๆ โปรดพึงระลึกว่าการติดต่อบุคคลแปลกหน้า หรือบุคคลที่คุณไม่เคยพบหน้ามาก่อนอาจถือได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดอย่างหนึ่ง

4. ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง
Facebook ไม่อนุญาตให้ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง โปรดเคารพซึ่งกันและกันเมื่อคุณติดต่อสื่อสารผ่าน Facebook แม้ว่าเราสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสถาบัน องค์กรกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติต่างๆ แต่การแบ่งแยกบุคคลตามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ถิ่นที่ถือสัญชาติศาสนาเพศเพศสภาพรสนิยมทางเพศความทุพพลภาพ หรือโรคภัย ถือเป็นการละเมิดเงื่อนไขของเราอย่างร้ายแรง

5. ภาพความรุนแรง
แม้ว่า Facebook จะเป็นเวทีสำหรับแบ่งปันกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ และเกิดขึ้นทั่วโลก เนื้อหาภาพที่ไม่เหมาะสมต่างๆ จะถูกลบเมื่อเราพบในไซต์นี้ ห้ามแสดงความรุนแรงซึ่งเป็นการทารุณกรรมต่อบุคคล สัตว์ หรือบรรยายให้เห็นภาพการข่มขืน

6. เพศหรือรูปภาพที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร
Facebook มีนโยบาย "ห้ามแสดงรูปภาพหรือข้อความลามกอนาจาร" ที่เคร่งครัด เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสมจะถูกลบ ดังนั้น ก่อนโพสต์เนื้อหาที่น่าสงสัย ให้คำนึงถึงผลที่ตามมาที่จะเกิดขึ้นกับคุณและสภาพแวดล้อมที่คุณอยู่

7. การโจรกรรม การทำลายทรัพย์สินและการหลอกลว
เราพยายามทำให้โลกเป็นสถานที่ที่เปิดกว้าง เชื่อมต่อถึงกัน และน่าอยู่ยิ่งขึ้น การดำเนินการใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เช่น การโจรกรรม การทำลายทรัพย์สิน และการหลอกลวง ถือเป็นการละเมิดเงื่อนไขของเรา

8. ข้อมูลระบุตัวบุคคลและความเป็นส่วนตัว
Facebook เป็นชุมชนหนึ่งที่ผู้คนสามารถสร้างสัมพันธ์และแบ่งปันได้โดยใช้ข้อมูลระบุตัวบุคคลซึ่งเป็นข้อมูลจริงของตนเอง เมื่อคุณแสดงข้อมูลจริงของคุณอย่างถูกต้องบน Facebook เป็นการช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยแก่ทุกคน การกล่าวอ้างเป็นบุคคลอื่น การสร้างบัญชีผู้ใช้หลายบัญชี หรือการดำเนินการอันเป็นเท็จในนามองค์กรถือเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือและละเมิดเงื่อนไขของเรา อีกทั้ง โปรดละเว้นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น

9. ทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนที่คุณจะร่วมแบ่งปันเนื้อหาใดๆ บน Facebook โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีสิทธิ์กระทำเช่นนั้นหรือไม่ เราขอให้คุณเคารพลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิ์ตามกฎหมายอื่นๆ

10. ฟิชชิงและสแปม
เราให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อความปลอดภัยของสมาชิกของเรา และเราทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือการรักษาความปลอดภัยของสมาชิก เราจึงขอให้คุณเคารพสิทธิ์ของสมาชิกของเราโดยไม่ติดต่อสมาชิกของเราเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสมาชิก


การแจ้งละเมิด
หากคุณพบเห็นสิ่งที่คุณเชื่อว่าเป็นการละเมิดเงื่อนไขของเราบน Facebook คุณสามารถรายงานผู้ดูแลระบบ พึงระลึกว่าการรายงานผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับบุคคล องค์กร หรือเนื้อหามิได้เป็นการรับรองว่าข้อมูลนั้นจะถูกลบออกจากไซต์
เนื่องจากชุมชนของเรามีความหลากหลาย อาจมีบางอย่างที่คุณไม่เห็นด้วยหรือเป็นการรบกวนคุณ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะลบหรือบล็อคได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีการควบคุมส่วนบุคคลในสิ่งที่คุณเห็น เช่น คุณสามารถซ่อน หรือตัดการเชื่อมต่อโดยไม่เปิดเผยกับบุคคล เพจ หรือแอพพลิเคชั่นที่เป็นเหตุให้คุณไม่พึงพอใจได้
เนื้อหาที่ละเมิดเงื่อนไขของเราจะถูกลบออกจากไซต์ของเรา และ (ในบางกรณี) จะถูกดำเนินการทางกฎหมาย หรือประการอื่น




เป็นยังไงบ้างครับ อ่านแล้วพอจะทราบกันใหมว่า เรากำลังทำผิดกฏ หรือละเมิดข้อบังคับข้อไหนอยู่บ้างหรือป่าว ??

อ๊ะ.. อ๊ะ  หลายคนอาจจะมองข้ามไป  .. แต่จากการวิจัยของ Facebook เองพบว่า คนไทยกว่า 60% มีการใช้งาน Facebook มากว่า 1 Account .. นั่นหมายความว่า คุณกำลังละเมิดข้อตกลงของ Facebook ในข้อที่ 8. ว่าด้วยเรื่อง "ข้อมูลระบุตัวบุคคล" ในหมวดหมู่ของการสร้างบัญชีผู้ใช้หลายบัญชี อยู่นะคร๊าบบ :-) 


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน 


Blog spot นี้มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ใช้งาน Facebook ในประเทศไทยทุกท่าน 
ได้เข้าใจถึงขอบเขตและข้อกำหนดของการใช้งาน Facebook รวมถึง มาตราการต่างๆ ของ Facebook ที่กำหนดขึ้นมาให้ Facebook Users ได้ใช้งานกันอย่างตรงตามวัตถุประสงค์